วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา : SF cinema Gity

กรณีศึกษา : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาธุรกิจและบริการ
เอส เอฟ ซีนีม่า ซิตี้ ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยาย สาขาให้คลอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกดังนั้น ผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงได้นำระบบตั๋วภาพยนตร์ ที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถรับจองที่นั่งได้จากเว็บไซต์ www.sfcinemacity.com โดย ตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเคาน์เตอร์ขาย ตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ตั๋วจากบ้านด้วยบริการ Print@home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง
1. ระบบที่เอส เอฟ ซินิม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
                ตอบ ทำให้เจ้าของธุรกิจมีความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน เพราะสามารถครอบคลุมการให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการได้ทั่วทุก พื้นที่ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ส่งผลให้ธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้า ส่วนผู้ใช้บริการก็จะได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อตั๋วภาพยนตร์ เกิดความพึงพอใจในการให้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว

2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
                ตอบ       1.  ผู้ใช้บริการต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
                                2. เจ้าของธุรกิจต้องมีเงินทุนสูง
                                               
3. หากจะนำระบบไอทีของ เอส เอฟ ซีนีม่า ซิตี้ มาให้บริการด้านอื่นๆ จะแนะนำให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไรบ้าง
                ตอบ สามารถนำระบบไอทีของ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ มาต่อยอดในให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม คือ การให้บริการลูกค้าโดยการสามารถสั่งจองโต๊ะ อาหารและเครื่องดื่ม ได้ล่วงหน้า โดยผ่านระไอทีของ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้


 

เทคโนโลยีความเร็วสูง

ADSL (Asymmetrical Digital Subscriber Ling)

           ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ที่ขนาด bandwidth สูง สำหรับสายโทรศัพท์บ้านและธุรกิจ ADSL มีข้อแตกต่าง จากโทรศัพท์ธรรมดา เนื่องจาก ADSL ให้การติดต่อแบบต่อเนื่อง โดย ADSL มีลักษณะอสมมาตร (asymmetric) จากการแบ่งช่อง ส่งข้อมูลให้การส่งไปยัง ผู้ใช้มากและมีช่องรับข้อมูลน้อย ADSL สามารถทำงานร่วมกับระบบอนาล็อก (เสียง) ในสายเดียวกัน ตามปกติ ADSL ใช้อัตราการส่งไปยังผู้ใช้ปลายทาง (downstream data rate) ตั้งแต่ S/2 Kbps ถึง 6 Mbps รูปแบบของ ADSL ที่รู้จักในชื่อ Universal ADSL หรือ glite ได้รับการกำหนดเบื้องต้นโดย ITU-TS    
           ADSL ได้รับการออกแบบให้ใช้ประโยชน์ จากการติดต่อทางเดียว สำหรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีความต้องการในการส่งข้อมูล ไปผู้ใช้มาก และรับข้อมูลการควบคุม เพียงเล็กน้อย การทดลองใช้กับผู้ใช้จริงของ ADSL ในสหรัฐ ได้ทดลองในช่วง 1996 ถึง 1998 และการติดตั้งเพื่อใช้งานในสหรัฐได้เริ่มในปี 2000 ADSL ซึ่งเป็นรูปแบบ อีกแบบหนึ่งของ DSL คาดว่าจะได้รับการใช้งานโดยทั่วไปในเขตเมือง

SDSL (Sysmmetric Digital Subscriber Ling)

        DSL ( Digital Subscriber Line ) เป็นเทคโนโลยี สำหรับการนำสารสนเทศด้วย bandwidth สูงไปที่บ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งสูงกว่าสายโทรศัพท์แบบเดิม xDSL อ้างถึง DSL ประเภทต่าง ๆ เช่น ADSL, HDSL และ RADSL ถ้าหากที่ตั้งที่ต้องการใช้บริการที่อยู่ใกล้กับบริษัทโทรศัพท์ที่ได้บริการ DSL จะสามารถได้รับข้อมูลที่ความเร็วได้ถึง 6.1 megabits ต่อวินาที ( Mbps ) เพื่อภาพเคลื่อน เสียง และภาพ 3 มิติ โดยที่การเชื่อมต่อแบบดั้งเดิมมีความเร็วจาก 1.544 Mbps ถึง 512 Kbps ในการส่งไปที่ผู้ใช้และรับกลับ 128 Kbps สาย DSL ส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงแบบต่อเนื่อง ซึ่งการติดตั้ง DSL เริ่มต้นในปี 1998 และจะขยายตัวต่อไปในสหรัฐและที่อื่น ๆ Compaq, Intel, และ Microsoft กำลังทำงานร่วมกับบริษัทโทรศัพท์ ในการพัฒนามาตรฐานและการติดตั้งที่สะดวกของ ADSL เรียกว่า G.Lite นอกจากนี้ DSL ได้รับการคาดว่าจะมาแทนที่ระบบ ISDN ในหลาย ๆ พื้นที่ และพร้อมด้วย cable modem เพื่อให้บริการด้านมัลติมีเดียและภาพ 3 มิติ ตามที่อยู่อาศัยการทำงาน        
        ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมติดต่อกับที่อยู่อาศัยหรือธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า Twisted pair โดยระบบโทรศัพท์แบบนี้เป็นการสับและส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก อุปกรณ์นำเข้าสัญญาณจะแปลงเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าด้วย amplitude และความถี่เพื่อส่งไปยังปลายทาง ในการรับสัญญาณจะแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อก ให้เป็นเสียง ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มี modem ในการแปลงสัญญาณ อะนาล็อก ให้เป็นค่า 0 และ 1 จึงเรียกว่า ระบบดิจิตอล
       
        จากการส่งสัญญาณอะนาล็อก โดยผ่านสายทองแดงแบบ Twisted pair สามารถใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps ทำให้ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกจำกัด ด้วยระบบสายโทรศัพท์ดังกล่าว 

        Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีที่มีข้อสมมุติว่า ข้อมูลไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาณอะนาล็อก โดยให้ข้อมูลแบบดิจิตอลส่งผ่านไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง และยินยอมการส่งไปยังผู้ใช้สามารถใช้ขนาด bandwidth ที่กว้าง ในขณะที่มีการแบ่ง bandwidth บางส่วนสำหรับการส่งสัญญาณ อะนาล็อก เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในสายเดียวกัน
      
       
HDSL (High-bit-rate-Digital Subscriber Line)
        DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดา ให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอล ความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการ เข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่า การใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้เราสามารถส่งข้อมูล ในขณะเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ได้ โดยมีเทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายเทคโนโลยีเช่น
·         HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
·         SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
·         IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
·         ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
·         RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
·         VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้ (ดูตารางประกอบ)

Down
Up
Mode
Distance
Wire(n)
Voice
HDSL
1.5 Mbps
1.5 Mbps
Symmetric
3.6 Km
4
No
SDSL
1.5 Mbps
1.5 Mbps
Symmetric
3 Km
2
No
IDSL
128 Kbps
128 Kbps
Symmetric
4.5 Km
2
No
ADSL
8 Mbps
1 Mbps
Asymmetric
5 Km
2
Yes
VDSL
52 Mbps
2.3 Mbps
Asymmetric
1 Km
2
Yes

  1. ความเร็วในการรับ (Down) และ ส่ง (Up) ข้อมูล แต่ละเทคโนโลยีจะไม่เท่ากัน
  2. Mode ของการรับส่งข้อมูล หากเทคโนโลยีใดมีอัตราความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลเท่ากันจะเรียกว่า Symmetric(ความสมมาตร) หากอัตราความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลไม่เท่ากันจะเรียกว่า Asymmetric(ความสมมาตร) เช่น ADSL มีอัตราเร็วในการรับข้อมูลสูงถึง 8 Mbps และมีอัตราเร็วในการส่งสูงสุดเพียง 1 Mbps แต่โดยทั่วไป เรามักมีการ Download หรือรับข้อมูล มากกว่า Upload หรือส่งข้อมูล ดังนั้น ADSL จึงสามารถรองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี
  3. ระยะทางที่สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูล (Distance) ระยะทางที่สามารถทำงานได้ของแต่ละเทคโนโลยีจะไม่เท่ากัน โดยที่เทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงขึ้น มักจะมีระยะสามารถทำงานได้สั้นลง เช่น VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงมากคือ 52 Mbps แต่จะสามารถทำงานได้ในระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรเท่านั้น
  4. จำนวนสายที่ใช้ (Wire) โดยในช่วงต้นของการพัฒนานั้น HDSL ถูกคิดค้นให้ใช้ถึง 2 คู่สายหรือสายทองแดง 4 เส้น แต่ระยะต่อมาสามารถพัฒนาให้สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้บนคู่สายทองแดงเพียง 1 คู่เท่านั้น และยังสามารถมีอัตราความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลสูงขึ้นด้วย
  5. ความสามารถในการใช้โทรศัพท์ระหว่าง รับ-ส่ง ข้อมูล (Voice Service) เทคโนโลยี DSL ที่เกิดขึ้นในระยะหลังจะถูกพัฒนาขึ้น ให้สามารถใช้งาน โทรศัพท์ได้ด้วยระหว่างที่มีการ รับ-ส่ง ข้อมูล เช่น ADSL และ VDSL
       โดยในขณะนี้เทคโนโลยี ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเลือกใช้มากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูง และระยะทางที่ทำงานได้ค่อนข้างไกล ซึ่งเหมาะสม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ในปัจจุบันมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 52

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบายเปรียบเทียบ  พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส   ม้าโทรจัน   เวริ์ม 
     ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส  
        - โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
        -  โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงาน
      -  โดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”
    ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทาง
อีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์


2. Spyware คืออะไร
      คืือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้ง
ของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือการดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น
     


3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมล์อย่างไรบ้าง
       3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
      3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

    
      1. อย่าซี้ซั้วแจกอีเมล์มั่ว
   ไม่ควรกรอกอีเมล์แอดเดรสลงในเว็บไซต์หรือแจกอีเมล์ให้กับคนที่ไม่รู้จัก แต่ถ้าเราต้องการสมัครใช้บริการออนไลน์ในเว็บไซต์ เช่น อ่านแมกกาซีนออนไลน์ฟรี หรือเวบบอร์ดต่างๆที่ให้กรอกอีเมล์เพื่อสมัครสมาชิก เราก็ควรที่จะมีอีเมล์สำรองไว้ใช้งานค่ะ เพื่อใช้กรอกในการสมัครเวบพวกนี้แทน ไม่ควรที่จะใช้อีเมล์ส่วนตัวค่ะ ยิ่งถ้าใครที่ใช้อีเมล์แบบที่ต้องเสียค่าบริการด้วยแล้ว ไม่ควรที่จะใช้อีเมล์นั้นในการสมัครเวบพวกนี้อย่างยิ่งค่ะ
 
       2.อย่าตอบเมล์สแปม
     อย่าเปิดดูข้อความในสแปมเมล์หรือตอบกลับโดยเด็ดขาด เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะเท่ากับว่าเราได้ทำการยืนยันกลับไปยังผู้ส่งสแปมว่าอี เมล์แอดเดรสนี้มีอยู่จริง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือสแปมเมล์จะถูกส่งมาเรื่อยๆ และเพิ่มมากขึ้น ในกรณีทีสงสัยว่าอีเมล์ฉบับนั้นเป็นสแปมให้ทำการลบทิ้งทันที วิธีสังเกตสแปมเมล์ง่ายๆ ก็คือมักจะใช้หัวข้อที่เรียกร้องความสนใจในทำนองเช่น “You have won the lottery” หรือ “Free prize waiting for you” หรือ “Re: Hello” อย่าหลงเปิดดูเป็นอันขาด นอกจากนี้ให้สังเกตดูอีเมล์แอดเดรสของผู้ส่งด้วย หากไม่รู้จักชื่อหรือมาจากโดเมนแปลกๆ (ชื่อโดเมนคือชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ ในอีเมล์แอดเดรส) ให้ฟันธงได้เลยว่าเป็นสแปมและทำการลบทิ้งทันที
 
       3. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่
      อีเมล์เรื่องโจ๊กที่ถูกส่งต่อๆ มาจากเพื่อนๆ และมีข้อความตอนท้ายในทำนองที่ว่า “ส่งต่ออีเมล์นี้ให้กับผู้รับอีก 10 คนแล้วคำอธิษฐานจะเป็นจริง” อย่างนี้ไม่ต้องส่งต่อเลยค่ะ เพราะถ้าเรา้ลองสังเกตอีเมล์เหล่านี้ดูแล้ว จะพบว่ามีอีเมล์แอดเดรสมากมายรวมกันอยู่ในส่วนต้นของอีเมล์ ซึ่งบางทีหนึ่งในนั้นอาจจะแอดเดรสของนักการตลาดหรือแฮกเกอร์ก็ได้ค่ะ่ ดังนั้นแนะนำให้กลั้นใจคลิกปุ่ม Delete แทนที่จะคลิกปุ่ม Forward แทนดีกว่าค่ะ
 
      4. สอบถาม ISP
       สำหรับใครที่ใช้อีเมล์์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ต่างๆ แนะนำให้สอบถามถึงมาตรการการป้องกันสแปมเมล์ด้วยว่ามีหรือไม่และสามารถป้องกันได้ดีแค่ไหน ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายจะมี “Gateway Server” แยกต่างหากและมีโปรแกรมคอยสแกนอีเมล์ทั้งเข้าและออก หากอีเมล์ใดถูกสงสัยว่าเป็นสแปมจะถูกส่งต่อไปตรวจสอบหรือถูกลบทิ้งทันที เพียงเท่านี้มันก็ไม่สามารถเข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของเราได้แล้วค่ะ
 
       5. บล็อกผู้ส่ง
    
ในโปรแกรม Outlook Express จะมีออปชัน Block Sender ให้เราได้ใช้งาน ให้คลิกเลือกที่อีเมล์ที่ต้องการบล็อกไม่ให้เข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของเราอีก แล้วคลิกเลือกเมนู Message -> Block sender จากนั้นอีเมล์แอดเดรสดังกล่าวจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการบล็อก ซึ่งในครั้งต่อไปหากมีอีเมล์ที่มาจากแอดเดรสที่ตรงกับในรายการบล็อก อีเมล์ฉบับนั้นๆ จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Deleted Messages โดยอัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบดูรายชื่อในรายการบล็อกของ Outlook Express ได้โดยคลิกที่เมนู Tools -> Message Rules -> Blocked Sender List
 
       6. กรองเมล์ขยะ
    ในโปรแกรม Outlook 2003 นั้นจะมีออปชันการทำงานมากมายเกี่ยวกับการจัดการอีเมล์ชยะ โดยฟิลเตอร์กรองเมล์ขยะจะทำการย้ายข้อความที่สงสัยว่าจะเป็นเมล์ขยะไปยังโฟลเดอร์เฉพาะหรือลบมันทิ้งไป นอกจากนเรายังสามารถสร้าง (แบล็ก) ลิสต์ของแอดเดรสที่ชัดเจนว่าเป็นสแปมหรือขยะได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างลิสต์ของแอดเดรสที่คุณรู้จักซึ่งโปรแกรมจะไม่สงสัยว่าเป็นขยะโดยเด็ดขาด เช่น อีเมล์ของเพื่อนๆ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ โดยเราสามารถเข้าถึงออปชันจัดการเมล์ขยะได้จากเมนู Actions -> Junk E-Mail -> Junk E-Mail Option
 
       7. กำหนดกฏเกณฑ์
    
โดยปกติโปรแกรมจัดการอีเมล์ส่วนใหญ่ (เช่น Outlook Express) จะมีฟังก์ชันกรองข้อความ (Message Filters หรือ Message Rules) ซึ่งเราสามารถกำหนดกฏเกณฑ์ในการรับข้อความโดยให้ย้ายไปยังโฟลเดอร์อื่นๆ หรือทำการลบทิ้งโดยอัตโนมัติได้ ในบางครั้งหากเราต้องการเก็บเมล์ขยะบางประเภทเอาไว้ (เช่น ข้อเสนอเรื่องการศึกษาและเรียนต่อ) ก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ให้โปรแกรมทำการย้ายเมล์ที่มีข้อความเกี่ยวกับการศึกษา (เช่น Educational, Study abroad) หรือแอดเดรสที่เกี่ยวข้องไปยังโฟลเดอร์แยกต่างหากได้ ซึ่งเราสามารถเข้าถึงฟังก์ชันดังกล่าวได้โดยการคลิกที่เมนู Message -> Create Rule for Message

       8. ใช้ Safe & Blocked ให้เป็นประโยชน์
   
บริการฟรีอีเมล์เช่น Hotmail, Yahoo, Google ฯลฯ ปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีระบบป้องกันสแปมให้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น Safe List และ Blocked List ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมหรือลบรายชื่ออีเมล์แอดเดรสออกจากลิสต์ทั้งสองได้ อย่างอิสระ ในกรณีของ Blocked List ข้อความจะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk (ซึ่งจะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติเมื่อถึงกำหนด) นอกจากนี้ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ก็จะมี Master List ของบรรดาสแปมเมอร์เก็บไว้เช่นกัน หากมีอีเมล์ไหนตรงกับลิสต์ก็จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk โดยอัตโนมัติทันที
       9. ใช้พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์
   ในกรณีที่ของสำนักงานเล็กๆที่ใช้อีเมล์เพื่อการติดต่อด้านธุรกิจ แนะนำให้ตั้งพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาโดยให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-Spam และ Firewall เอาไว้
พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ (เช่น WinGate และ WinProxy) นั้นจะมีฟีเจอร์ป้องกันสแปมเมล์อยู่ในตัว ที่สามารถเปรียบเทียบแอดเดรสที่อยู่ในลิสต์รายการ .”Safe” และ “Black” ได้ โดยอี-เมล์ที่ถูกแบล็กลิสต์จะถูกลบออกจากพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ และหมดโอกาสเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของเราค่ะ
(ข้อมูลเพิ่มเติม : www.wingate.com และ www.winproxy.com)
     10. ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันสแปม
    ปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่ื่อมาต่อกรกับสแปมเมล์ และสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมจัดการอีเมล์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ (เช่น Outlook Express) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการสแปมเมล์ที่สูงกว่าโดยจะทำการตรวจสอบอี-เมล์ ทั้งที่ผ่านเข้ามาและถูกส่งออกไป ยกตัวอย่างโปรแกรมเช่น PixByte, AntiSpam Professional, Spam Inspector, Spam Monitor. 
 
4. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่น CD เพลงเป็นการทำผิดจริยกรรมหรือไม่เพราะเหตุใด และการดาว์นโหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตข้อเช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร 
       การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลยและยังเป็นลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงนั้นๆด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน   แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลง
จากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ
     
     

ความหมายของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต


         อินทราเน็ต  (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 
      เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

ประเภทของ E-commerc
    1. ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B)
           Business-to-Business (B2B) เป็นคำเรียกในการทำธุรกิจการค้าระหว่างหน่วยงานธุรกิจกับหน่วยธุรกิจ ซึ่งมักจะเป็นผู้ผลิตสินค้า โดยผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหน่วยงานธุรกิจทั้งคู่ ซึ่งแตกต่างกับ business-to-consumers (B2C) ที่เกิดจากหน่วยธุรกิจกับผู้บริโภค หรือ business-to-government (B2G) ระหว่างหน่วยธุรกิจกับรัฐบาล
          ปริมาณการซื้อขายของ B2B จะมีปริมาณสูงกว่า B2C อย่างมาก ซึ่งการซื้อขายส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ ใช้ในการผลิตสำหรับขายให้กับผู้บริโภคต่อไป ตัวอย่างเช่น B2B ของบริษัทผลิตรถยนต์ จะเกิดขึ้นกับบริษัทอื่น เช่น บริษัทผลิตยาง บริษัทผลิตกระจกหน้ารถ ซึ่งสุดท้ายสินค้าทั้งหมดจะถูกประกอบรวมเป็นชิ้นเดียวและขายให้กับผู้บริโภค

2. ธุีรกิจกับลูกค้า (B2C) 
          ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค  ซึ่งรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ

       1. การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) หมายถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น โดยยังไม่มีการรับสั่งสินค้าทางเครือข่าย

         2. การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า แต่ยังคงชำระเงิน ด้วยวิธีการเดิม เช่น ชำระด้วยเช็ค หรือ บัตรเครดิตผ่านทางช่องทางปกติ

       3. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า และชำระเงิน โดยในปัจจุบันการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มักชำระด้วยการบอกหมายเลขบัตรเครดิต ในอนาคตการชำระเงินอาจทำได้โดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money)

      4. การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้าปลีกอย่างคลอบคลุม ตั้งแต่การโฆษณา การรับสั่งสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย ในกรณีที่สินค้า เป็นสินค้า “สินค้าสารสนเทศ” (information goods) เช่น ข่าวสาร ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ หรือเพลงการจัดส่ง (delivery) สินค้าเหล่านี้ ยังสามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

      5. การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การซื้อขายสินค้าทางการเงิน เช่น หลักทรัพย์ การซื้อขายสินค้าทั่วไป (commodity) เช่น น้ำมัน หรือทองคำ เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (B2G)
          คือธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจกับรัฐจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภาครัฐ ปรับปรุงระบบสารสนเทศในการดำเนินงานของตนและนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้ในการ บริการธุรกิจในด้านต่างๆ เช่นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (governmentprocurement) หรือการเปิดประมูลทางเครือข่ายตลอดจนการให้บริการ ทางการค้าต่างๆ เช่นการจดทะเบียนการค้า การรายงานผลการประกอบการประจำปีหรือการสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น

4. ลูกค้ากับลูกค้า  (C2C)
          ลูกค้ากับลูกค้า ( Consumer to Consumer - C2C) การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
          


        

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของเว็บ


       1. Web 1.0 คือยุดการนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวหรือทางเดียว หรือ Static Web


       2. Web 2.0 คือยุดที่มีการสื่อสามารทั้งสองทิศทาง ทั้งจากผู้นำเสนอ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจ หรือ Dynamic Web ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ สามารถที่จะสร้างเนื้อหาหรือ content ชนิดต่างๆ ได้ ทำให้ข้อมูลต่างๆ มีมากขึ้น มีการแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น โดย technology ที่เห็นได้ชัดคือ TAG ซึ่งผู้สร้าง content สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง และสามารถค้นหาได้ แต่ลองจิตนาการดูว่า ยิ่งข้อมูลมากขึ้น tag ก็ถูกสร้างมากขึ้น โดย tag ที่ถูกสร้างมานั้นก็ไม่เป็นมาตรฐานแล้วแต่จะตั้งกันไป ทำให้เป้าหมายของการใช้ Tag ผิดไป นี่คือแค่ 1 ในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

       3. Web 3.0 คือ Semantic Web นั่นเอง มันก็คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะ เชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของ โลกเลย แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูล ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะมี format ข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ก็ based-on XML เช่นพวก RDF ( Resource Definition Framework ) , OWL ( Ontology Web Language )

คำศัพท์ของคอมพิวเตอร์

1. HTML
      HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C)
     HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆ ๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่ หรือให้เรามองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser

2. Webpage
       เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง  หน้าเอกสารของบริการ  WWW  ซึ่งตามปกติจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language)  โดยไฟล์  HTML  1  ไฟล์ก็คือเว็บเพจ  1  หน้านั่นเอง  ภายในเว็บเพจอาจประกอบไปด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง วิดีโอ  และภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย  นอกจากนี้เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยงหรือ “ลิงค์” (Link)  กัน เพื่อให้ผู้ชมเรียกดูเอกสารหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกอีกด้ว

    
3. โฮมเพจ
     โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซท์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด

4. www
        Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   “ เว็บ “  (Web) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  “เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บ
เว็บเพจ


5. Web Browser
     คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web)  หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต     ที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser)  จะเข้าใจในภาษาHTML   นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ   เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้ 

6. URL
      ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต กล่าวได้ง่ายๆก็คือ ตัวอักษรที่เรากรอกลงไปบนช่องใส่ Address ของโปรแกรมเข้าเว็บเช่น internet explorer, chrome หรือ firefox ในยุคแรกๆ เราใช้ตัวเลขหลายหลัก (เลขไอพี )ในการแทนชื่อเว็บไซต์ ทำให้เวลาจำแล้วกรอกตัวเลขในช่อง URL มักจะผิดกันมาก เลยมีผู้คิดค้นสัญลักษ์แทนตัวเลข จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมนเนม

7. Protocal
      การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk 

8. Hyperlink
      Hyperlink คือ การเชื่อมโยงไฟล์ หรือการเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซค์ต่าง ๆ และสามารถกำหนดข้อมูลว่าต้องการให้เปิดหน้าต่างเบราเซอร์ใหม่ หรือเชื่อมโยงในหน้าต่างปัจจุบันก็ได้ 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
     การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส

2.โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
       เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา

3.วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
     เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม

4.การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
   เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

5.การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
    เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

6.กรุ๊ปแวร์(groupware)
   เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

7.การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
      ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

8.การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
   เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน 

9.การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
     เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 




 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย  (Wireless Networking Protocals)

1.บลูทธู (Bluetooth)
   บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ



2.วาย-ไฝ (Wi-Fi)
   Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
      ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น

3.wi-max
    WiMAX คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป