วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบายเปรียบเทียบ  พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส   ม้าโทรจัน   เวริ์ม 
     ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส  
        - โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
        -  โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงาน
      -  โดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”
    ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทาง
อีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์


2. Spyware คืออะไร
      คืือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้ง
ของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือการดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น
     


3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมล์อย่างไรบ้าง
       3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
      3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

    
      1. อย่าซี้ซั้วแจกอีเมล์มั่ว
   ไม่ควรกรอกอีเมล์แอดเดรสลงในเว็บไซต์หรือแจกอีเมล์ให้กับคนที่ไม่รู้จัก แต่ถ้าเราต้องการสมัครใช้บริการออนไลน์ในเว็บไซต์ เช่น อ่านแมกกาซีนออนไลน์ฟรี หรือเวบบอร์ดต่างๆที่ให้กรอกอีเมล์เพื่อสมัครสมาชิก เราก็ควรที่จะมีอีเมล์สำรองไว้ใช้งานค่ะ เพื่อใช้กรอกในการสมัครเวบพวกนี้แทน ไม่ควรที่จะใช้อีเมล์ส่วนตัวค่ะ ยิ่งถ้าใครที่ใช้อีเมล์แบบที่ต้องเสียค่าบริการด้วยแล้ว ไม่ควรที่จะใช้อีเมล์นั้นในการสมัครเวบพวกนี้อย่างยิ่งค่ะ
 
       2.อย่าตอบเมล์สแปม
     อย่าเปิดดูข้อความในสแปมเมล์หรือตอบกลับโดยเด็ดขาด เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะเท่ากับว่าเราได้ทำการยืนยันกลับไปยังผู้ส่งสแปมว่าอี เมล์แอดเดรสนี้มีอยู่จริง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือสแปมเมล์จะถูกส่งมาเรื่อยๆ และเพิ่มมากขึ้น ในกรณีทีสงสัยว่าอีเมล์ฉบับนั้นเป็นสแปมให้ทำการลบทิ้งทันที วิธีสังเกตสแปมเมล์ง่ายๆ ก็คือมักจะใช้หัวข้อที่เรียกร้องความสนใจในทำนองเช่น “You have won the lottery” หรือ “Free prize waiting for you” หรือ “Re: Hello” อย่าหลงเปิดดูเป็นอันขาด นอกจากนี้ให้สังเกตดูอีเมล์แอดเดรสของผู้ส่งด้วย หากไม่รู้จักชื่อหรือมาจากโดเมนแปลกๆ (ชื่อโดเมนคือชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ ในอีเมล์แอดเดรส) ให้ฟันธงได้เลยว่าเป็นสแปมและทำการลบทิ้งทันที
 
       3. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่
      อีเมล์เรื่องโจ๊กที่ถูกส่งต่อๆ มาจากเพื่อนๆ และมีข้อความตอนท้ายในทำนองที่ว่า “ส่งต่ออีเมล์นี้ให้กับผู้รับอีก 10 คนแล้วคำอธิษฐานจะเป็นจริง” อย่างนี้ไม่ต้องส่งต่อเลยค่ะ เพราะถ้าเรา้ลองสังเกตอีเมล์เหล่านี้ดูแล้ว จะพบว่ามีอีเมล์แอดเดรสมากมายรวมกันอยู่ในส่วนต้นของอีเมล์ ซึ่งบางทีหนึ่งในนั้นอาจจะแอดเดรสของนักการตลาดหรือแฮกเกอร์ก็ได้ค่ะ่ ดังนั้นแนะนำให้กลั้นใจคลิกปุ่ม Delete แทนที่จะคลิกปุ่ม Forward แทนดีกว่าค่ะ
 
      4. สอบถาม ISP
       สำหรับใครที่ใช้อีเมล์์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ต่างๆ แนะนำให้สอบถามถึงมาตรการการป้องกันสแปมเมล์ด้วยว่ามีหรือไม่และสามารถป้องกันได้ดีแค่ไหน ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายจะมี “Gateway Server” แยกต่างหากและมีโปรแกรมคอยสแกนอีเมล์ทั้งเข้าและออก หากอีเมล์ใดถูกสงสัยว่าเป็นสแปมจะถูกส่งต่อไปตรวจสอบหรือถูกลบทิ้งทันที เพียงเท่านี้มันก็ไม่สามารถเข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของเราได้แล้วค่ะ
 
       5. บล็อกผู้ส่ง
    
ในโปรแกรม Outlook Express จะมีออปชัน Block Sender ให้เราได้ใช้งาน ให้คลิกเลือกที่อีเมล์ที่ต้องการบล็อกไม่ให้เข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของเราอีก แล้วคลิกเลือกเมนู Message -> Block sender จากนั้นอีเมล์แอดเดรสดังกล่าวจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการบล็อก ซึ่งในครั้งต่อไปหากมีอีเมล์ที่มาจากแอดเดรสที่ตรงกับในรายการบล็อก อีเมล์ฉบับนั้นๆ จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Deleted Messages โดยอัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบดูรายชื่อในรายการบล็อกของ Outlook Express ได้โดยคลิกที่เมนู Tools -> Message Rules -> Blocked Sender List
 
       6. กรองเมล์ขยะ
    ในโปรแกรม Outlook 2003 นั้นจะมีออปชันการทำงานมากมายเกี่ยวกับการจัดการอีเมล์ชยะ โดยฟิลเตอร์กรองเมล์ขยะจะทำการย้ายข้อความที่สงสัยว่าจะเป็นเมล์ขยะไปยังโฟลเดอร์เฉพาะหรือลบมันทิ้งไป นอกจากนเรายังสามารถสร้าง (แบล็ก) ลิสต์ของแอดเดรสที่ชัดเจนว่าเป็นสแปมหรือขยะได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างลิสต์ของแอดเดรสที่คุณรู้จักซึ่งโปรแกรมจะไม่สงสัยว่าเป็นขยะโดยเด็ดขาด เช่น อีเมล์ของเพื่อนๆ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ โดยเราสามารถเข้าถึงออปชันจัดการเมล์ขยะได้จากเมนู Actions -> Junk E-Mail -> Junk E-Mail Option
 
       7. กำหนดกฏเกณฑ์
    
โดยปกติโปรแกรมจัดการอีเมล์ส่วนใหญ่ (เช่น Outlook Express) จะมีฟังก์ชันกรองข้อความ (Message Filters หรือ Message Rules) ซึ่งเราสามารถกำหนดกฏเกณฑ์ในการรับข้อความโดยให้ย้ายไปยังโฟลเดอร์อื่นๆ หรือทำการลบทิ้งโดยอัตโนมัติได้ ในบางครั้งหากเราต้องการเก็บเมล์ขยะบางประเภทเอาไว้ (เช่น ข้อเสนอเรื่องการศึกษาและเรียนต่อ) ก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ให้โปรแกรมทำการย้ายเมล์ที่มีข้อความเกี่ยวกับการศึกษา (เช่น Educational, Study abroad) หรือแอดเดรสที่เกี่ยวข้องไปยังโฟลเดอร์แยกต่างหากได้ ซึ่งเราสามารถเข้าถึงฟังก์ชันดังกล่าวได้โดยการคลิกที่เมนู Message -> Create Rule for Message

       8. ใช้ Safe & Blocked ให้เป็นประโยชน์
   
บริการฟรีอีเมล์เช่น Hotmail, Yahoo, Google ฯลฯ ปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีระบบป้องกันสแปมให้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น Safe List และ Blocked List ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมหรือลบรายชื่ออีเมล์แอดเดรสออกจากลิสต์ทั้งสองได้ อย่างอิสระ ในกรณีของ Blocked List ข้อความจะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk (ซึ่งจะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติเมื่อถึงกำหนด) นอกจากนี้ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ก็จะมี Master List ของบรรดาสแปมเมอร์เก็บไว้เช่นกัน หากมีอีเมล์ไหนตรงกับลิสต์ก็จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk โดยอัตโนมัติทันที
       9. ใช้พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์
   ในกรณีที่ของสำนักงานเล็กๆที่ใช้อีเมล์เพื่อการติดต่อด้านธุรกิจ แนะนำให้ตั้งพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาโดยให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-Spam และ Firewall เอาไว้
พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ (เช่น WinGate และ WinProxy) นั้นจะมีฟีเจอร์ป้องกันสแปมเมล์อยู่ในตัว ที่สามารถเปรียบเทียบแอดเดรสที่อยู่ในลิสต์รายการ .”Safe” และ “Black” ได้ โดยอี-เมล์ที่ถูกแบล็กลิสต์จะถูกลบออกจากพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ และหมดโอกาสเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของเราค่ะ
(ข้อมูลเพิ่มเติม : www.wingate.com และ www.winproxy.com)
     10. ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันสแปม
    ปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่ื่อมาต่อกรกับสแปมเมล์ และสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมจัดการอีเมล์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ (เช่น Outlook Express) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการสแปมเมล์ที่สูงกว่าโดยจะทำการตรวจสอบอี-เมล์ ทั้งที่ผ่านเข้ามาและถูกส่งออกไป ยกตัวอย่างโปรแกรมเช่น PixByte, AntiSpam Professional, Spam Inspector, Spam Monitor. 
 
4. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่น CD เพลงเป็นการทำผิดจริยกรรมหรือไม่เพราะเหตุใด และการดาว์นโหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตข้อเช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร 
       การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลยและยังเป็นลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงนั้นๆด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน   แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลง
จากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ
     
     

ความหมายของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต


         อินทราเน็ต  (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 
      เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

ประเภทของ E-commerc
    1. ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B)
           Business-to-Business (B2B) เป็นคำเรียกในการทำธุรกิจการค้าระหว่างหน่วยงานธุรกิจกับหน่วยธุรกิจ ซึ่งมักจะเป็นผู้ผลิตสินค้า โดยผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหน่วยงานธุรกิจทั้งคู่ ซึ่งแตกต่างกับ business-to-consumers (B2C) ที่เกิดจากหน่วยธุรกิจกับผู้บริโภค หรือ business-to-government (B2G) ระหว่างหน่วยธุรกิจกับรัฐบาล
          ปริมาณการซื้อขายของ B2B จะมีปริมาณสูงกว่า B2C อย่างมาก ซึ่งการซื้อขายส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ ใช้ในการผลิตสำหรับขายให้กับผู้บริโภคต่อไป ตัวอย่างเช่น B2B ของบริษัทผลิตรถยนต์ จะเกิดขึ้นกับบริษัทอื่น เช่น บริษัทผลิตยาง บริษัทผลิตกระจกหน้ารถ ซึ่งสุดท้ายสินค้าทั้งหมดจะถูกประกอบรวมเป็นชิ้นเดียวและขายให้กับผู้บริโภค

2. ธุีรกิจกับลูกค้า (B2C) 
          ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค  ซึ่งรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ

       1. การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) หมายถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น โดยยังไม่มีการรับสั่งสินค้าทางเครือข่าย

         2. การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า แต่ยังคงชำระเงิน ด้วยวิธีการเดิม เช่น ชำระด้วยเช็ค หรือ บัตรเครดิตผ่านทางช่องทางปกติ

       3. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า และชำระเงิน โดยในปัจจุบันการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มักชำระด้วยการบอกหมายเลขบัตรเครดิต ในอนาคตการชำระเงินอาจทำได้โดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money)

      4. การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้าปลีกอย่างคลอบคลุม ตั้งแต่การโฆษณา การรับสั่งสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย ในกรณีที่สินค้า เป็นสินค้า “สินค้าสารสนเทศ” (information goods) เช่น ข่าวสาร ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ หรือเพลงการจัดส่ง (delivery) สินค้าเหล่านี้ ยังสามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

      5. การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การซื้อขายสินค้าทางการเงิน เช่น หลักทรัพย์ การซื้อขายสินค้าทั่วไป (commodity) เช่น น้ำมัน หรือทองคำ เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (B2G)
          คือธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจกับรัฐจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภาครัฐ ปรับปรุงระบบสารสนเทศในการดำเนินงานของตนและนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้ในการ บริการธุรกิจในด้านต่างๆ เช่นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (governmentprocurement) หรือการเปิดประมูลทางเครือข่ายตลอดจนการให้บริการ ทางการค้าต่างๆ เช่นการจดทะเบียนการค้า การรายงานผลการประกอบการประจำปีหรือการสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น

4. ลูกค้ากับลูกค้า  (C2C)
          ลูกค้ากับลูกค้า ( Consumer to Consumer - C2C) การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
          


        

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของเว็บ


       1. Web 1.0 คือยุดการนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวหรือทางเดียว หรือ Static Web


       2. Web 2.0 คือยุดที่มีการสื่อสามารทั้งสองทิศทาง ทั้งจากผู้นำเสนอ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจ หรือ Dynamic Web ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ สามารถที่จะสร้างเนื้อหาหรือ content ชนิดต่างๆ ได้ ทำให้ข้อมูลต่างๆ มีมากขึ้น มีการแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น โดย technology ที่เห็นได้ชัดคือ TAG ซึ่งผู้สร้าง content สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง และสามารถค้นหาได้ แต่ลองจิตนาการดูว่า ยิ่งข้อมูลมากขึ้น tag ก็ถูกสร้างมากขึ้น โดย tag ที่ถูกสร้างมานั้นก็ไม่เป็นมาตรฐานแล้วแต่จะตั้งกันไป ทำให้เป้าหมายของการใช้ Tag ผิดไป นี่คือแค่ 1 ในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

       3. Web 3.0 คือ Semantic Web นั่นเอง มันก็คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะ เชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของ โลกเลย แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูล ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะมี format ข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ก็ based-on XML เช่นพวก RDF ( Resource Definition Framework ) , OWL ( Ontology Web Language )

คำศัพท์ของคอมพิวเตอร์

1. HTML
      HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C)
     HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆ ๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่ หรือให้เรามองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser

2. Webpage
       เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง  หน้าเอกสารของบริการ  WWW  ซึ่งตามปกติจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language)  โดยไฟล์  HTML  1  ไฟล์ก็คือเว็บเพจ  1  หน้านั่นเอง  ภายในเว็บเพจอาจประกอบไปด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง วิดีโอ  และภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย  นอกจากนี้เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยงหรือ “ลิงค์” (Link)  กัน เพื่อให้ผู้ชมเรียกดูเอกสารหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกอีกด้ว

    
3. โฮมเพจ
     โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซท์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด

4. www
        Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   “ เว็บ “  (Web) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  “เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บ
เว็บเพจ


5. Web Browser
     คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web)  หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต     ที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser)  จะเข้าใจในภาษาHTML   นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ   เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้ 

6. URL
      ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต กล่าวได้ง่ายๆก็คือ ตัวอักษรที่เรากรอกลงไปบนช่องใส่ Address ของโปรแกรมเข้าเว็บเช่น internet explorer, chrome หรือ firefox ในยุคแรกๆ เราใช้ตัวเลขหลายหลัก (เลขไอพี )ในการแทนชื่อเว็บไซต์ ทำให้เวลาจำแล้วกรอกตัวเลขในช่อง URL มักจะผิดกันมาก เลยมีผู้คิดค้นสัญลักษ์แทนตัวเลข จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมนเนม

7. Protocal
      การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk 

8. Hyperlink
      Hyperlink คือ การเชื่อมโยงไฟล์ หรือการเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซค์ต่าง ๆ และสามารถกำหนดข้อมูลว่าต้องการให้เปิดหน้าต่างเบราเซอร์ใหม่ หรือเชื่อมโยงในหน้าต่างปัจจุบันก็ได้ 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
     การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส

2.โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
       เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา

3.วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
     เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม

4.การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
   เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

5.การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
    เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

6.กรุ๊ปแวร์(groupware)
   เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

7.การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
      ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

8.การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
   เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน 

9.การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
     เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 




 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย  (Wireless Networking Protocals)

1.บลูทธู (Bluetooth)
   บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ



2.วาย-ไฝ (Wi-Fi)
   Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
      ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น

3.wi-max
    WiMAX คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป
      




การจัดการระบบสารสนเทศ

ความหมายของ ISP

       ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า  ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย

ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ ISP .
         Thaibiz Provider Co., Ltd ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547   เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในธุรกิจ ISP (Internet Service Provider) และ Internet Data Center และ Rack Server สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร พร้อมที่จะให้บริการ ตั้งแต่ต้นจนปลาย ของการจัดการด้าน Internet Solution   ตั้งแต่การจัดหา   อุปกรณ์ Rack Server และจัดหา Internet Data Center ที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั้นๆ พร้อมกับ Implement Server Software ที่ได้มาตรฐานที่เป็นที่ ยอมรับ
      
ทั้งนี้ บริษัท ไทยบิสโพรวายเดอร์ จำกัด สามารถนำเสนอการให้บริการ Total Internet Solution สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ พร้อมทั้งการบริการ หลังการขายให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหา เกี่ยว กับด้าน Security Solutons
Why Thaibiz Provider Co., Ltd
  • ให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับ Dedicate Server ,Co-locations  สำหรับลูกค้าองค์กร
  • ให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับ ISP (Internet Service Provider) Product  สำหรับลูกค้าองค์กร
  • บริการจัดหาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับ Internet Datacenter ตามลักษณะงานของลูกค้าองค์กร
  • ให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับ Rack Server หลากหลาย Brand name   สำหรับลูกค้าองค์กร
  • ให้บริการจัดหา Server Software และ Implement Software System ให้กับ Server ลูกค้าองค์กร
  • บริการติดตั้ง และ Implement Security Solution ทั้ง Firewall Hardware และ Firewall Software   ( Fortinet , Netscreen , Astaro , Check point ) 
  • บริษัทเป็น Partner กับผู้ผลิตสินค้าและ Software IT ชั้นนำเช่น APC, AVG, Fortinet, MailEnable และ Parallels
  • ทีมงานที่ได้รับ Certified จาก Fortinet FCNSP พร้อมประสบการณ์ ทำให้มั่นใจได้ในบริการ

ความหมายของโมเด็ม
 
โมเด็ม (Modems)
      เป็น อุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัส กับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของ คุณสามารถสื่อสาร กับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่ง โมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

      คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสาร ดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอล อีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับ โมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

การทำงานของโมเด็ม
      โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่เป็นรูปแบบดิจิตอล ให้อยู่ในรูปแบบอนาล็อก ( analog) หรือคลื่น ที่สามารถส่งไปได้ตามสายโทรศัพท์ และทำการส่งไปยังเครื่องปลายทาง ก่อนที่เครื่องปลายทางซึ่งมีโมเด็มอยู่เช่นกัน จะทำการแปลงสัญญาณจากรูปแบบอนาล็อกที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ให้อยู่ ในรูปแบบดิจิตอล
 ความหมาย Lan Card

การ์ดแลน


LAN Card

     การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีก อย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น

 ข้อดีและข้อเสีย ของ Coaxial,Fiber Optic,Unshielded  Twisted Pair

ประเภทมีสาย
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง

รูปที่ 1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์

1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP

รูปที่ 2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์

ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว

ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด



2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile

 
รูปที่ 3 สายโคแอกเชียล





ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล

ข้อดี1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด

3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile

รูปที่ 4 สายใยแก้วนำ




ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง

ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล


เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง


       ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นมาตรฐานของโมเด็มเทคโนโลยีใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และด้วยความเร็วขนาดนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่าง ๆ เช่น

• งานเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video On Demand
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน(Telecommuting)


          ADSL มีโครงสร้างของระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร (Asymmetric) ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ส่งมาจาก ISP ไปยังผู้ใช้บริการจะมีความเร็วที่มากกว่า ข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากผู้ใช้บริการไปยัง ISP ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่มักจะเป็นการ Download ข้อมูลเสียมากกว่าการ Upload ข้อมูล การทำงานของ Modem ADSL จะใช้การแบ่งช่องสัญญาณออกเป็น 3 ช่อง คือ ระบบโทรศัพท์เดิม, ช่องสัญญาณ ADSL upstream และช่องสัญญาณ Downstream เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า FDM(Frequency Division Multiplexing) โดยการจัดสรรแถบความถี่สำหรับย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ Fax ส่วนย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ ดังเช่นช่องสัญญาณทั้งสาม ดังรูปข้างล่างนี้ โดย Downstream จะมี Bandwidth มากที่สุด







2902

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์

ด้านฮาร์แวร์


ฮาร์ดแวร์(Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมอง เห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 3. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ เปิดตัว 2 คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ โดดเด่นด้วยดีไซน์ เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ หนึ่งในหน่วยธุรกิจที่สำคัญของไมโครซอฟท์ เปิดตัว 2 คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้ส่งเสริมประสบการณ์ในการใช้พีซีที่ ดียิ่งกว่าเดิม ด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานและคุณภาพที่เหนือชั้น พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ



โดยคีย์บอร์ดรุ่นล่าสุด ทั้ง 2 รุ่น ได้แก่ Arc Keyboard คีย์บอร์ดสำหรับพกพาที่มาพร้อมดีไซน์ทันสมัย และ Sidewinder X4 Keyboard คีย์บอร์ดที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคอเกมส์ด้วยปุ่มกดที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ พร้อมแสงไฟจากด้านหลัง และโหมด ‘anti-ghosting’ ที่ช่วยให้คอเกมส์ทั้งหลายสามารถกดปุ่มคีย์บอร์ดได้หลายๆ ปุ่มในเวลาเดียวกัน



นายชัชวาล จิตติกุลดิลก ผู้จัดการฝ่ายขาย กลุ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 1982 ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ ผสานกับดีไซน์ที่ลงตัวและนวัตกรรมที่เหนือชั้น หลังจากความสำเร็จจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ที่รองรับการใช้งาน วินโดวส์ 7 เมื่อปีที่ผ่านมา ในวันนี้ เราได้ออกคีย์บอร์ดรุ่นใหม่ 2 รุ่น ที่ทำงานได้เป็นอย่างดีกับวินโดวส์รุ่นที่ผ่านมา และทำงานได้อย่างดีเยี่ยมกับวินโดวส์ 7 โดยเป้าหมายหลักของเราคือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์สวยงาม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์จะนำ ประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดมาให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน”

Microsoft Arc Keyboard



Microsoft Arc Keyboard มีดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Arc Mouse เมาส์ดีไซน์พระจันทร์เสี้ยวที่มียอดขายถล่มทลาย โดย Arc Keyboard ผสมผสานความโค้งมนในการออกแบบเข้ากับลายเส้นที่เรียบง่าย พร้อมคุณสมบัติที่เหมาะกับการพกพาและน้ำหนักที่เบา ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า 1 ปอนด์ ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนย้ายคีย์บอร์ดได้อย่างสะดวก ทั้งยังสามารถวางคีย์บอร์ดไว้บนหน้าขาได้ ทำให้สะดวกไม่ว่าจะใช้ทำงานงานที่เก้าอี้โซฟา หรือที่เคาน์เตอร์ในห้องครัว ด้วยดีไซน์ที่กะทัดรัดและไม่เหมือนใคร Arc Keyboard จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทั้งเป็นประโยชน์และทันสมัย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์

Arc Keyboard ยังมีทรานซิฟเวอร์ขนาดจิ๋วแบบ snap-in ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเสียบทรานซิฟเวอร์ไว้กับคอมพิวเตอร์ได้ หรือ สะดวกสำหรับสอดเก็บไว้ข้างใต้คีย์บอร์ด นอกจากนี้ ยังมี four-way directional pad ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ปุ่มแอร์โรว์คีย์ได้โดยที่ใช้พื้นที่น้อยลง ทั้งยังมีเทคโนโลยีไวร์เลส 2.4 GHz ที่ช่วยให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานได้ไกลถึง 15 ฟุต แม้ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานไวร์เลสหนาแน่น

Microsoft Sidewinder X4 Gaming Keyboard



SideWinder X4 Keyboard ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้งานเกมส์ให้สามารถควบคุมประสบการณ์ใน การเล่นเกมส์ได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง anti-ghosting ผู้ใช้งานจึงสามารถกดปุ่มคีย์บอร์ดได้ถึง 26 ปุ่มในเวลาเดียวกัน และยังมั่นใจได้ว่าคีย์บอร์ดจะสามารถจดจำรหัสลับเกมส์ต่างๆ ได้เพื่อให้เกิดอรรถรสในการเล่นเกมส์ที่เพลิดเพลินยิ่งขึ้น



คีย์บอร์ด รุ่นใหม่นี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ในการเล่นเกมส์ขั้นเทพ อาทิ macro recording สำหรับจดจำคีย์ลัดในการเล่นเกมส์ โหมดอัตโนมัติ และ โหมดการเปลี่ยนผู้เล่น นอกจากนี้ ยังสามารถปรับแสงไฟด้านหลังคีย์บอร์ด และมีปุ่มลัดเพื่อเข้าถึงสื่อบันเทิงต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย


เทคโนโลยีซอฟต์แวร์

ฮาร์ดแวร์

รูป ทรงที่เกือบจะจตุรัสทำให้ Motorola Charm ดูแปลกตาแม้จะเป็นโทรศัพท์ที่มี QWERTY ด้วยกัน มันจะดู "ปุ๊กลุ๊ก" มากกว่าโทรศัพท์รุ่นอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด แม้ทรงนี้จะดูแปลก แต่ด้วยเครื่องขนาดเล็กก็ทำให้การจับถือไม่แปลกนัก โดยมันจะเต็มอุ้งมือพอดี


ตัว คีย์บอร์ดมีภาษาไทยสกรีนมาให้ในตัว แตไม่สามารถพิมพ์ได้โดยตรง ในส่วนนี้บางเว็บระบุว่าต้องใช้ CN Thai จึงจะสามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ แต่เนื่องจากผมไม่นิยมพิมพ์ภาษาไทยบนโทรศัพท์นัก ในส่วนนี้จึงไม่สนใจจะใช้งานแต่อย่างใด






รอบๆ เครื่องไล่จากด้านซ้าย มีช่อง micro USB อยู่ด้านล่าง เป็นอีกครั้งที่ผมไม่ชอบดีไซน์นี้ เพราะใช้ในรถแล้วชาร์จทิ้งไว้จะหยิบขึ้นมาใช้ยาก ส่วนปุ่มปรับเสียงอยู่ทางด้านซ้ายซึ่งก็ไม่แปลกอะไร ด้านบนมีช่องเสียงหูฟังและปุ่มปิดเครื่อง แต่ด้านขวาไม่มีปุ่มชัตเตอร์เนื่องจากไปอยู่บนคีย์บอร์ดแล้ว ปุ่มมาตรฐานของแอนดรอยด์คือปุ่ม Menu, Home, และ Back นั้นเป็นปุ่มแบบจอสัมผัส แต่แสงใต้ปุ่มแยกออกจากจอภาพ และใช้แสงใต้ปุ่มเหล่านี้ในการทำ notification

ด้านหลังมีกล้อง 3 ล้านพิกเซลแบบ Fixed Focus ซึ่งคุณภาพไม่ดีนัก แต่ก็ใช้งานได้ ที่น่าสนใจคือใกล้ๆ กล้องนั้นมีแผ่น Backtrack ซึ่งก็คือทัชแพดแบบในโน้ตบุ๊กนั่นเอง โดยเมื่อแตะลงไปสองทีหน้าจอจะมีเคอร์เซอร์เมา์ขึ้นมาบนจอด้านหน้าให้เลื่อน คลิกได้ แม้จะดูน่าสนุกแต่ผมพบว่ามันใช้งานจริงไม่ได้นัก และผมเองปิดมันไว้ตลอด

ซอฟต์แวร์
Motorola Charm มาพร้อมกับ Android 2.1 และ MOTOBLUR ซึ่งถ้านับในบรรดาคู่แข่งที่เป็น QWERTY และราคาใกล้เคียงกันแล้ว นับว่า Charm นั้นเหนือกว่าคู่แข่งอยู่หนึ่งขั้นคือขึ้นมาที่ 2.1 แล้วขณะที่หลายรุ่นในตลาดยังเป็นรุ่น 1.6 กัน ซึ่งก็ช่วยให้ Charm สามารถรันซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้จำนวนมาก ไม่น้อยหน้ารุ่นอื่นๆ ไปมากนัก

 

หน้า จอ MOTOBLUR นอกจากจะเน้นบริการเครือข่ายสังคมเช่น Facebook แล้วมันยังแก้ปัญหาหน้าจอของ Android 2.1 คือไม่มีปุ่มโทรศัพท์เป็นปุ่มมาตรฐาน โดยนำปุ่มโทรศัพท์ไปวางไว้ข้างปุ่มเมนู

การวางปุ่มโทรศัพท์เป็นที่ เป็นทางแม้จะช่วยแก้ปัญหาหน้าจอของ Android แต่ Charm กลับมีปัญหาของมันเองนั่นคือหน้าจออยู่ๆ มักไม่ตอบสนองขึ้นมาดื้อๆ เป็นระยะๆ ซึ่งปรกติก็ไม่เป็นปัญหามาก โดยล็อกหน้าจอกลับไปและเปิดกลับมาก็จะใช้งานได้อีกครั้ง แต่หลายๆ ครั้งเมื่อสายเข้าอาการหน้าจอไม่ตอบสนองก็จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทำให้ไม่สามารถรับสายได้ ทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับเรื่องนี้คือการลงโปรแกรม ShakeCall แล้วใช้การเขย่าเครื่องแทนการเลื่อนปุ่มบนหน้าจอ

 

 

 

ซอฟต์แวร์ อื่นๆ นั้นด้วยความที่เป็น Android 2.1 ตัว Charm สามารถใช้ Maps รุ่นใหม่ที่แคชแผนที่ไว้ล่วงหน้าและใช้แผนที่แบบเวคเตอร์ได้ มันสามารถใช้ Android Market รุ่นใหม่, อ่าน Kindle, และเล่นเว็บรวมถึง Flash ได้เป็นอย่างดี แต่ข้อจำกัดสำคัญคือหน้าจอ 320x240 ที่เป็นข้อจำกัดในการอ่านอะไรยาวๆ

อายุแบตเตอรี่ของ Charm เป็นเรื่องที่มันได้เปรียบเป็นอย่างยิ่ง การใช้งานปรกติผมสามารถใช้งานมันได้มากกว่าสองวัน และตั้งแต่ใช้งานมาไม่เคยพบปัญหาแบตเตอรี่หมดเลยเพราะเมื่อแบตเตอรี่ถึงขีด อันตรายการชาร์จในรถเพียงครึ่งชั่วโมงก็คืนพลังงานมาได้มากกว่าครึ่ง พร้อมที่จะใช้งานต่อได้อีกทั้งวัน


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมาย

  • ระบบ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นโดยองค์ประกอบเหล่านั้น สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือช่วยให้การทำงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  • สารสนเทศ สามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน (wiki)

สารสนเทศ vs. ข้อมูล

  • ข้อมูล เป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
  • สารสนเทศ เป็นการจัดระเบียบข้อมูลและดึงออกมาใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ ได้

องค์ประกอบในระบบสารสนเทศ

คือส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 5 ส่วนคือ
  1. บุคคลากร
  2. ซอฟต์แวร์
  3. ฮาร์ดแวร์
  4. ระเบีียบปฏิบัติการ
  5. ข้อมูล

ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ หรือ system software คือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตามที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมฮาร์แวร์ ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถทำงานได้. ระบบปฏิบัติการ เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, Linux ฯลฯ นับเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี. คำว่าซอฟต์แวร์ระบบนี้แตกต่างจาก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ทั่วไป (end user) ใช้ในการทำงานเฉพาะอย่างเพื่อเพิ่มผลิตภาพ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ, โปรแกรมตกแต่งรูป
ตัวอย่างงานของซอฟต์แวร์ระบบ เช่น การนำข้อมูลจากหน่วยความจำลงสู่ดิสค์, การแสดงตัวอักษรและภาพบนอุปกรณ์แสดงผล. รูปแบบของซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่
  • โปรแกรมช่วยโหลด
  • ระบบปฏิบัติการ
  • device drivers
  • เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม
  • compilers
  • assemblers
  • linkers
  • ยูทิลิตี (utility)

ระบบปฏิบัติการ

SkyOS เป็นระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่เขียนขึ้นสำหรับสถาปัตยกรรม x86 โดยนาย Robert Szeleney และพวก SkyOS (อ่าน สกายโอเอส)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อทำในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ แตกต่างจาก ซอฟต์แวร์ระบบตรงที่ของซอฟต์แวร์ระบบจะรวมหน่วยความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันให้พร้อมทำงานได้ แต่ยังไม่ได้ประยุกต์เข้ากับการแก้ปัญหาตามความต้องการของผู้ใช้โดยตรง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่
  • โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) เช่น Micosoft Word, OpenOffice Writer เป็นต้น
  • โปรแกรมตารางงาน (spreadsheet) เช่น Microsoft Excel, OpenOffice Calc เป็นต้น
  • โปรแกรมนำเสนอ (presentation) เช่น Microsoft Powerpoint, Openoffice Impress เป็นต้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น



 




ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ